TH
PCG LOGO
หมวดหมู่สินค้า
แบรนด์สินค้า
PCG LOGO1
การรับประกัน
สินค้าแท้ 100%
PCG LOGO2
จัดส่งรวดเร็ว
ติดตามสถานะได้ทันที
โรคข้อสะโพกเสื่อมในสุนัขพันธุ์ใหญ่: อาการ การป้องกัน และการรักษา
17/11/2023
ข่าวประชาสัมพันธ์
โรคข้อสะโพกเสื่อมในสุนัขพันธุ์ใหญ่ (Hip dysplasia)

วันนี้หมอมีเรื่องราวเกี่ยวกับโรคที่เจอได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ใหญ่มาฝากกันค่ะ หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินโรคนี้กันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะท่านที่เลี้ยงน้องหมาพันธุ์ใหญ่ โรคนี้ก็คือโรค ข้อสะโพกเสื่อม นั่นเองค่ะ โรคนี้มีที่มาอย่างไร น้องหมามีอาการแบบไหน มีวิธีป้องกันและรักษาอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาชี้แจงกันแบบเข้าใจง่าย ถ้าพร้อมแล้ว ไปฟังกันเลยค่ะ

ข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia) คือ เป็นโรคที่เกิดจาดความผิดปกติในการเจริญพัฒนาของกระดูกข้อสะโพก ทำให้ข้อต่อมีรูปร่างและการเคลื่อนของข้อผิดปกติ กระดูกต้นขา ไม่สามารถสวมเข้ากับเบ้าสะโพกได้พอดี ซึ่งจะนำไปสู่การอักเสบถาวรตามมา ทำให้มีความผิดปกติในการเคลื่อนไหวขาหลังของน้องหมา โรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรม และพบด้วยว่าบางครั้งพ่อแม่สุนัขอาจไม่มีอาการปรากฏให้เห็น แต่สามารถเป็นพาหะนำพันธุกรรมที่ไม่ดีนี้ได้ โดยพบบ่อยในสุนัขพันธุ์ใหญ่ (โดยเฉพาะพันธุ์แท้) เช่น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ ร็อตไวเลอร์ เยอรมัน เชพเพิร์ด เซนต์เบอร์นาร์ด เป็นต้น ซึ่งปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นความอ้วน การให้อาหารมากจนทำให้โตเร็วเกินไป การเสริมแคลเซี่ยมมากเกินไป ความบาดเจ็บในระหว่างช่วงที่เจริญเติบโต การเลี้ยงบนพื้นลื่น จะเป็นปัจจัยโน้มนำให้สุนัขป่วยเป็นโรคนี้มากขึ้นค่ะ โดยอาการของโรคที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่

- ลุกขึ้นหรือนอนลงกับพื้นได้ลำบาก อาจมีร้องเจ็บบางครั้ง
- ยืนขาสั่น ทรงตัวได้ไม่ดี
- เดินขึ้นลงบันไดไม่สะดวก
- เดินขาหลังปัดไปมา
- เจ็บขาเวลาเดิน วิ่งหรือออกกำลังกาย
- กล้ามเนื้อขาหลังฝ่อลีบ เนื่องจากใช้ขาหลังน้อยลง
- ถ้าปล่อยไว้นานจะเริ่มมีแผลกดทับ ติดเชื้อตามมาได้ค่ะ

ถ้าน้องหมาที่บ้านมีอาการคล้ายคลึงกับที่หมอบอก ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมค่ะ โดยการตรวจสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การคลำที่บริเวณข้อสะโพก อาจมีเสียงกระดูกกระทบกัน หรือการเอ็กซเรย์เพื่อดูภาวะความรุนแรงของโรค และเพื่อแยกโรคนี้ออกจากปัญหาเรื่องกระดูกอื่น ๆ ด้วยค่ะ หลังจากวินิจฉัยแล้ว ก็จะมาถึงขั้นตอนการรักษากัน ซึ่งการรักษาทำได้หลายอย่าง ขึ้นกับสภาพร่างกายของสัตว์และความรุนแรงของโรคค่ะ ยกตัวอย่างได้ดังนี้

1. การรักษาโดยวิธีกายภาพบำบัด ธาราบำบัด การว่ายน้ำหรือเดินบนลู่วิ่งในน้ำ เพราะน้ำจะช่วยพยุงน้ำหนักตัวของน้องหมาในขณะออกกำลังกาย ทำให้ข้อสะโพกไม่ต้องทำงานหนักมาก แต่ทำให้เกิดการสร้างกล้ามเนื้อขึ้นมาช่วยรับน้ำหนักตัวแทน โดยพาไปสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็ได้ค่ะ

2. การจัดการที่แหมาะสม คือต้องมีการควบคุมอาหาร ไม่ให้สุนัขมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป และไม่ควรเลี้ยงสุนัขบนพื้นลื่น เพราะจะทำให้การลุกนั่งลำบาก มีความเจ็บปวดมากขึ้น น้องหมาอาจจะนอนอย่างเดียว ไม่ยอมลุก จนสุดท้ายเป็นแผลกดทับตามมาได้ค่ะ

3. การรักษาทางยา กรณีที่สุนัขยังเป็นไม่เยอะมาก อาจมีการให้ยากลุ่มแก้ปวด ลดการอักเสบของข้อต่อ ยาบำรุงข้อ ร่วมกับการรักษาอื่น ๆ ก็เห็นผลดีค่ะ

4. การรักษาโดยการผ่าตัด กรณีสุนัขที่เป็นเยอะแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การผ่าตัดก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของสุนัขด้วยนะคะ โดยการผ่าตัดทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น การผ่าตัดปรับมุมกระดูกสะโพก การตัดหัวกระดูกต้นขาออก การตัดกล้ามเนื้อต้นขาบางมัด เป็นต้น ซึ่งจะทำวิธีไหนนั้น ขึ้นกับสัตวแพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ตัดสินใจค่ะ

ดูบทความทั้งหมด